My passion, All beautiful things and any nice concern share the world beauty by puy ~ is me

Makeup Master Class: มหัศจรรย์แห่งคอนซีลเลอร์ (Amazing Concealer)

    ปุ้ยเชื่อว่าสาวๆ ทุกคนที่ได้รู้จักและสัมผัสกับเจ้าไอเท็มมหัศจรรย์ตัวนี้แล้ว ต้องตกหลุมรักและติดใจ จนแทบจะใช้ชีวิตโดยขาดเจ้าคอนซีลเลอน์นี้ไม่ได้อีกต่อไป ในหัวข้อนี้จะพามารู้จักคอนซีลเลอร์โดยเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ คุณสมบัติ ประเภท และจะมาไขข้อข้องใจในการใช้งานกันให้ด้วย

    What? –คอนซีลเลอร์ คือ ไอเท็มที่วัตถุประสงค์การใช้งานเพื่อปกปิดหรือซ่อนจุดบกพร่องต่างๆ ที่อยู่บนผิวไม่ว่าจะเป็น รอยสิว รอยคล้ำ รอยแดง จุดด่างดำเล็กๆ แผลเป็น ฝ้า กระ และจุดบกพร่องอื่นๆ ที่ปรากฏบนผิวหน้าคอนซีลเลอร์ให้ระดับการปดปิดอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเนื้อของคอนซีลเลอร์มีลักษณะของส่วนผสมได้ในหลากหลายประเภทคล้ายๆ กับรองพื้น เช่น เนื้อครีม น้ำ หรือแป้ง แต่จะแตกต่างจากรองพื้นรองที่พิกเมนท์ความเข้มข้นของการปกปิดนั้นสูงกว่านั่นเอง

เฉดสีของคอนซีลเลอร์นั้น จะมี 2 ประเภท คือ
1) คอนซีลเลอร์ที่มีสีสัน (Colored Concealer)
เพื่อใช้เทคนิคอำพรางโดยให้สีที่คอนทราสกับรอยจุดบกพร่องต่างๆ บนผิว
เช่น สีที่เหลืองหรือสีขาวทำให้ผิวที่หมองคล้ำกระจ่างใสขึ้น
สีแอพพริคอทสามารถใช้ลบเลือนรอยคล้ำหรือรอยช้ำสีม่วงหรือเส้นเลือดแตก
สีเขียวและสีฟ้าสามารถแก้ไขรอยแดงที่เกิดจากสิว
คอนซีลเลอร์สีม่วงจะทำให้หน้าดูสว่างขึ้น
คอนซีลเลอร์ที่มีสีสันเหล่านี้มักจะใช้แต้มตรงจุดภายใต้คอนซีลเลอร์หรือรอง พื้นที่ตรงกับโทนสีผิวอีกทีหนึ่ง หรือสำหรับการอำพรางปกปิดในระดับที่ยังเหลือความเป็นธรรมชาติของผิวไว้อยู่ บ้าง

2) คอนซีลเลอร์ที่มีสีตรงกับโทนสีผิว (Skin-tone Concealer)
มีหลากหลายเฉดตั้งแต่อ่อนถึงเข้ม และมีพิกเมนท์ที่เข้มข้นสำหรับการปกปิดขั้นสูงสุด
ซึ่งในปัจจุบันนวัตกรรมการผลิตทำให้คอนซีลเลอร์แบบนี้มีความปกปิดสูงมากจน สามารถปกปิดจุดบกพร่องต่างๆ ได้ถึง 100% จนแทบไม่จำเป็นต้องใช้การอำพรางด้วยคอนซีลเลอร์ที่มีสีสันก็ได้
นอกจากนั้นแล้วการออกแบบคอนซีลเลอร์ยังมีความหลากหลายให้ง่ายต่อการใช้งาน อีกด้วย มีทั้ง พาเล็ทที่มีหลายสี ปากกา ดินสอ แท่ง ขวดที่มาพร้อมพู่กัน เป็นต้น
การเลือกคอนซีลเลอร์ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานทั้งสีความเข้มข้นและความแข็งหรือเหลวของเนื้อครีม

    Where? – ควรใช้ คอนซีลเลอร์แบบไหนในบริเวณไหนบ้าง
คอนซีลเลอร์นั้นใช้ในพื้นที่เฉพาะที่เราต้องการปกปิดเท่านั้น หากมีปัญหาจุดบกพร่องหลายจุดให้พิจารณาตามหลักการใช้งานดังนี้

“ความสามารถในการปกปิด (Coverage)” แปรผันตาม “ความเข้นข้นของพิกเมนท์ (Concentration)”

 

“ความกว้างของพื้นที่การปกปิด (District)” แปรผันตาม “สถานะของความเหลวของเนื้อครีม (Phase of Matter)”

 

เช่น รอยสิวหรือรอยแผลเป็น ที่ต้องการการปกปิดมากและมีพื้นที่เป็นจุดเล็กๆ ก็ควรใช้คอนซีลเลอร์ที่มีความเข้มข้นมากๆ และมีเนื้อครีมที่ค่อนข้างแห้ง 

ฝ้าและกระ ที่มีบริเวณกว้างและมีสีเข้มจึงต้องใช้การปกปิดที่มาก ก็ควรใช้คอนซีลเลอร์ที่มีความเข้มข้นมากๆ และเป็นเนื้อครีมที่มีลักษณะค่อนข้างเหลว

รอยคล้ำใต้ตา ที่มีพื้นที่ค่อนข้างกว้างแต่ต้องการความปกปิดระดับปานกลาง ก็ควรใช้คอนซีลเลอร์ที่มีเนื้อเข้มข้นปานกลางและเป็นลักษณะเนื้อครีมที่ค่อนข้างเหลว เป็นต้น


Modify: หากเรามีคอนซีลเลอร์อยู่แบบเดียว แต่ต้องการดัดแปลงและประยุกต์ใช้ให้สามารถปกปิดจุดบกพร่องได้ในหลายรูปแบบก็สามารถทำได้ เช่น การทำให้เนื้อคอนซีลเลอร์มีเนื้อที่แห้งขึ้น โดยการพักคอนซีลเลอร์ไว้บนผิวนานๆ จนกว่าเนื้อจะแห้ง แล้วค่อยเกลี่ย หรือการทำให้เนื้อคอนซีลเลอร์เหลวขึ้น ก็ทำได้โดยการผสมกับ Makeup Base หรือ Tinted Moisturizer ส่วนการทำให้เนื้อคอนซีลเลอร์มีความเข้มข้นมากขึ้น คือ การลงซ้ำจนกว่าจะปกปิดได้ในระดับที่พึงพอใจ

Tools: เครื่องไม้เครื่องมือสำหรับการทาคอนซีลเลอร์ ได้แก่
- แปรงขนสังเคราะห์ที่มีเส้นขนเล็กๆ แบนๆ ที่สามารถจับเนื้อครีมได้ดี ส่วนใหญ่สังเกตได้จากสีมักจะเป็นสีส้มอมเหลืองโดยเลือกเลือกขนาดของแปรงตามลักษณะพื้นที่ที่จะใช้งาน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ที่ใช้แปรง เพื่อวัตถุประสงค์ในการเข้าถึงพื้นที่เล็กๆ หรือจุดเล็กๆ หรือต้องการการเกลี่ยปริมาณเนื้อครีมที่สม่ำเสมอ

- นิ้วมือ สำหรับการเกลี่ยเนื้อครีมในบริเวณกว้าง และเนื้อครีมที่มีความเข้มข้นมากๆ

- ด้ามแปรงเล็กๆ เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเกลี่ยคอนซีลเลอร์ลงในพื้นที่ที่เป็นจุดเล็กๆ ได้ โดยไม่ต้องลงทุนซื้อแปรงคอนซีลเลอร์ที่มีราคาแพง แล้วใช้นิ้วมือช่วยในการเกลี่ยให้เรียบเนียนอีกทีหนึ่ง

The Steps:

 


1. แต้มเนื้อคอนซีลเลอร์ลงที่บริเวณที่ต้องการปกปิด
2. รอซักพักจนเนื้อคอนซีลเอลอร์เกือบแห้ง (ทดสอบโดยการสัมผัสที่ขอบของบริเวณที่แต้มลงไป)
3. ใช้นิ้วเมือเกลี่ยโดยวิธีกดย้ำ (Dap Motion) ลงไปเบาๆ ให้เนื้อคอนซีลเลอร์กลืนไปกับสีผิว เริ่มจากรอบขอบของบริเวณก่อน แล้วจึงค่อยๆ
ไล่เข้าไปด้านใน ในกณีที่เป็นพื้นที่แคบๆ หรือจุดอาจใช้แปรงช่วยก็ได้
4. รอจนเนื้อคอนซีลเลอร์แห้งสนิท แล้วใช้นิ้วมือหรือพัฟฟองน้ำ กดน้ำหนักย้ำลงไปอีกครั้งเพื่อให้เนื้อคอนซีเลอร์ยึดติดกับผิวหน้าได้ดียิ่งขึ้น

    When? – ควรใช้คอนซีลเลอร์ในขั้นตอนไหน
หลายคนสงสัยว่า ควรทาคอนซีลเลอร์ก่อนหรือหลังรองพื้นกันแน่?
จริงๆ แล้ว สามารถทำได้ทั้ง 2 แบบ
สำหรับการปกปิดที่อยู่ในพื้นที่ที่ต้องการสีที่ใกล้เคียงกับสีผิวแต่ไม่มีคอนซีลเลอร์ที่ตรงกับสีผิวซักทีเดียว เราสามารถใช้วิธีการทาคอนซีลเลอร์เพื่อปกปิดรอยหรือจุดบกพร่องไปก่อน แล้วจึงทาทับด้วยรองพื้น เพื่อให้ได้สีที่ตรงกับสีผิวที่สุด มีข้อควรระวังว่า รองพื้นที่ใช้นั้นควรเป็นเนื้อครีมที่ไม่เหลวจนเกินไป เพราะจะทำให้คอนซีลเอลร์ที่ลงไปแล้วละลายออกมาได้สำหรับคอนซีลเลอร์ที่มีสีเดียวกับรองพื้นอยู่แล้ว หรือสำหรับการปกปิดที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่จำเป็นต้องใช้สีที่ตรงกับสีผิวก็ได้ เช่น บริเวณที่
เรามักจะลงไฮไลท์ ก็สามารถใช้คอนซีลเลอร์หลังขั้นตอนการลงรองพื้น ข้อควรระวัง คือ คอนซีลเลอร์ที่ใช้ในบริเวณไฮไลท์ควรมีสีอ่อนกว่าสีของรองพื้น และในบริเวณที่ลงเฉดดิ้งควรมีสีเข้มกว่า
การทาคอนซีลเลอร์เราอาจจะมากกว่า 1 รอบ หรือมากกว่า 1 ประเภทก็ได้ แล้วแต่ความต้องการในการปกปิด

การเรียงลำดับในการใช้งาน ให้ลองสังเกตจากวิธีการ พื้นที่และเนื้อของผลิตภัณฑ์ ดังนี้
วิธีการ ~~ เลือกใช้ประเภททีี่่ใช้พวกแปรงก่อน แล้วค่อยตามด้วยประเภทที่ใช้นิ้วมือ
พื้นที่ ~~ เลือกทาในบริเวณที่กว้างก่อน แล้วจึงทาเฉพาะจุด
เนื้อของผลิตภัณฑ์ ~~ เลือกใช้ประเภทที่มีความเข้มข้นน้อยกว่าก่อน หากปกปิดได้ไม่เพียงพอ จึงเลือกประเภทที่มีความเข้มข้นมากกว่ามาปกปิดซ้ำ

    Why? – ทำไมต้องใช้คอนซีลเลอร์
เพื่อการปกปิดจุดบกพร่องบนผิวทำให้ผิวสวยแบบไร้ที่ติ ส่วนความจำเป็นนั้นขึ้นกับความต้องการของแต่ละคนว่ามีความพึงพอใจกับความเพอร์เฟกของผิวในระดับไหนความปกปิดมักจะมาคู่กับความยุ่งยากในขั้นตอน งบประมาณที่ลงทุนและความห่างไกลจากธรรมชาติหากเราเชื่อมั่นในความงามแบบธรรมชาติอยู่บ้าง บางทีการมีสิวอยู่บนหน้า หรือมีรอยกระอยู่บ้าง ก็เป็นเรื่องที่ดูน่ารัก ไร้เดียงสาตามวัย
ของเรานะคะ

“ความสวยงามนั้นอยู่ที่วิจารณญาณของแต่ละบุคคล”
แต่อย่าลืมว่าสวยงามอย่างสร้างสรรค์ แล้วนำมาแบ่งปันให้กันและกันนะคะ

 

 

    คลิปวิดีโอรีวิวผลิตภัณฑ์คอนซีลเลอร์จากแบรนด์ต่างๆ