Commencement Guideline: Buildup 4 ̶ การถ่ายภาพ (เลือกช่างภาพ นัดคิว และนัดเวลา)
Buildup: 4 ̶ การถ่ายภาพ (เลือกช่างภาพ นัดคิว และนัดเวลา)
สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ขนาดไม่ได้ ก็คือ ช่างภาพค่ะ เพราะว่า ความทรงจำที่น่าประทับใจครั้งนี้
จะให้เราจดจำและเผยแพร่ต่อลูกหลาน(ก็ว่าไปนั่น) ด้วยภาพถ่ายค่ะ
การเลือกช่างภาพ
คล้ายๆ กับ ช่างแต่งหน้าค่ะ มีหลายประเภท
– ช่างภาพมืออาชีพตามร้านถ่ายภาพ มีทั้งร้านถ่ายภาพรับล้างอัด
อันนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนรู้จัก พ่อแม่ ญาติสีพี่น้องแนะนำ
เพราะว่า บางทีช่างภาพประเภทนี้คาดเดาแนวการถ่ายยากอะค่ะ
– ช่างภาพมืออาชีพแบบรับจ้างถ่ายภาพฟรีแลนซ์โดยเฉพาะ
ซึ่งจะมีการราวมกลุ่มกันของช่างภาพ อาจจะเป็นหน้าร้านหรือเป็นเว็บ
พวกนี้จะดีหน่อยมี Portfolio ให้เราดูเลย ว่าแต่ละคนมีฝีมือแบบไหน
– ช่างภาพมืออาชีพตามสตูดิโอแต่งงาน
อันนี้ก็ควรญาติสีพี่น้องที่เคยใช้บริการ จะแนะนำอีกเช่นกัน
เพราะว่างานที่ออกมาจากสตูนั้น บ่งบอกถึงความสามารถกับแนวการถ่ายภาพที่แท้จริงของเค้าได้ยากหน่อยอะค่ะ
เพราะว่าบางทีต้องถ่ายตามความต้องการลูกค้า ความต้องการเจ้าของสตู อะไรพวกนี้
งานออกมาอาจจะไม่ใช่ตัวตนของเค้าเอง
– ช่างถ่ายภาพมือสมัครเล่น พวกนี้จะพบเห็นได้ตามเว็บไซต์ต่างๆ (เยอะมาก)
– ช่างภาพมืออาชีพจากหนังสือนิตยสาร ฝีมือไม่ต้องพูดถึงเลยค่ะ
แต่ว่าส่วนใหญ่ไม่ค่อยรับงานรับปริญญา นอกจากซี้กันจริง
เพราะปกติแล้ว เค้าชอบทำงานกับทีมจัดแสงด้วย และงานรับปริญญาเหนื่อยเกินไม่ค่อยคุ้มค่ะ
(ค่าบริการอาจจะเป็นหมื่นค่ะ)
การหาช่างภาพ จะมาจากทางไหน ก็แล้วแต่ความสะดวกนะคะ
ถ้าจะถามว่า หาที่เว็บไป คงตอบยากมากอะค่ะ
ถ้าจาให้ตอบ List คงยาวเหยียด แล้วอาจจะมีประเด็นงอนกันได้อีก ถ้าไม่ยอมเอามาลงให้ครบ
เอาเป็นว่า ลอง Google คำว่า “รับถ่ายรูปรับปริญญา” ดูแล้วกันนะคะ สู้ๆ
ส่วนคำแนะนำในการวิเคราะห์เพื่อเลือกช่างภาพ สิ่งที่สำคัญ ต้องรู้จักสังเกตค่ะ
ปุ้ยแนะนำให้สังเกตสิ่งต่างๆ ดังนี้ค่ะ
1. ดูแนวการถ่ายภาพ ให้เลือกแนว สไตล์หรือมุมมองที่เราชอบและเค้าถนัดค่ะ
เช่น ถ่ายแนวใสๆ สไตล์เกาหลี แนวสีจัดๆ แนวสีทึมๆ แนวสนุกสนาน แนวเรียบหรูดูดี ต่างๆ นาๆ
เอาว่า เห็นแล้วเราปิ๊ง แนวนี้แหละที่ชั้นอยากได้
อย่าไปคิดว่าจาเอาทุกแนวนะคะ
พี่ปุ้ยสงสารช่างภาพค่ะ แล้วอีกอย่าง ไม่มีใครเก่งหรือถนัดไปซะทุกแนวค่ะ
2. ดูการ Process ภาพค่ะ คล้ายๆ กับการเลือกแนว เราชอบ Process แบบไหน
แล้วดูว่าช่างภาพ ถนัด Process แบบไหน เช่น แบบปกติ เน้นสีผิวธรรมชาติ แบบทำให้สีผิวดูผ่อง แบบทำให้ผิวขาว แบบทำ Contrast เยอะๆ
แบบผิวหน้าเบลอได้ใจ หรือแบบผิวเนียนกริ๊บเห็นผิวชัดเจน
(Process ภาพ หมายถึง การ Process รูปตั้งแต่เอาออกจากกล้อง จนได้ภาพออกมาให้เราอะค่ะ
อาจจะรวมถึง การปรับแสง ปรับสี ครอปรูป รีทัช และทำกรอบ)
3. ดูความสม่ำเสมอของการ Process ภาพค่ะ (Consistency)
คือ เปรียบเทียบดูว่า การปรับแสงของภาพทั้งหมดนั้น เท่ากันรึป่าว เป็นไปในทิศทางเดียวกันมั้ย
ไม่ใช่ว่า ภาพนึงสว่างมาก อีกภาพมืดกว่า
เพราะว่า เราได้รูปมา เราจะเอาลงอัลบัมเดียวกัน ภาพความมีแสงๆ เท่าๆ กันถึงจะสวยงามค่ะ
นอกจากนั้นแล้วยังบ่งบอกถึงคุณภาพของฝีมือของช่างภาพด้วยค่ะ
เพราะว่า งานถ่ายภาพ ครึ่งนึงอยู่ที่การกดชัพเตอร์ ส่วนอีกครึ่งอยู่ที่การตกแต่งภาพค่ะ
นอกซะจากว่า น้องเป็นคนที่ชอบแนวที่ภาพแต่ละภาพ สีไม่เท่ากันเลย ดูอาร์ตดี อันนี้ก็ว่ากันไปค่ะ
4. ทัศนคติ เรื่องสำคัญอีกเช่นกัน ทัศนคติ หมายถึง การมีมุมมองแนวคิดไปทางเดียวกันค่ะ
การถ่ายภาพ ไม่ใช่งานของช่างภาพฝ่ายเดียว แต่เป็นงานของนางแบบด้วยค่ะ
ถือได้ว่า เป็นกรทำงานแบบทีมเวิร์คค่ะ
จะเวิร์คกันได้แบบแฮปปี้หรือไม่ ก็ต้องดูว่า ทัศนคติตรงกันมั้ย พูดจากันรู้เรื่องรีป่าว เข้ากันได้ดีมั้ย
แนะนำว่า ถ้าเลือกผลงานของช่างภาพได้ถูกใจแล้ว ลอง MSN คุยกันดู หรือจะโทร
หรือจะนัดมา Brief งานกันก่อนก็ได้ค่ะ ถึงเวลาทำงานจริง จะได้ไม่เขินอายๆ
ทำงานกันแบบเป็นกันเองจะดีกว่าค่ะ ต่างฝายต่างแฮปปี้ค่ะ
หรืออย่างน้อยก็เป็นการให้เกียรติช่างภาพว่าเราให้เค้าเป็นเพื่อนร่วมงาน ไม่ใช่แค่จ้างมากดชัตเตอร์
ถ้าทำได้แบบนี้ ช่างภาพจะรู้สึกดีและงานก็จะออกมาดีกว่าจริงๆ ค่ะ
5. ราคาค่ะ ดูราคาให้สมเหตุสมผลนะคะ
ถ้ารามีงบอยู่แค่นิดเดียว เราก็ต้องยอมรับว่า งานเราจะได้คุณภาพอยู่ในระดับนึง
แต่ถ้ามีงบเยอะ ยิ่งต้องเลือกดีๆ ค่ะ อย่าให้เสียดายตังทีหลัง ไม่เอานะคะ
มีเคล็บลับ จากข้อ 4 ถ้าเราทัศนคติหรือพูดจาถูกคอกันกับช่างภาพ เรื่องราคา ค่อยว่ากันทีหลังได้ค่ะ
(เอาจุดอ่อนของช่างภาพมา เผยกันแบบนี้ อย่ากว่ากันนะคะ ^ ^)
การจองคิว
จองเร็วที่สุดเท่าที่จะจำได้ อย่างเช่น ถ้าเจอช่างภาพที่ถูกใจ ก็จองเลยค่ะ
จองก่อนล่วงหน้า 2-3 ปีก็ยังได้
อย่างช่างภาพของพี่ปุ้ย พี่จองล่วงหน้าตั้งแต่รับปริญญาตรี จบมาจบโท ก็บอกพี่เค้าว่า พี่ถ่ายให้อีกนะ
แต่ต้องคอยย้ำอยู่บ่อยๆ นะคะ ว่าเรายังจองคิวอยู่ ไม่งั้นเดี๋ยวนานไปพี่เค้าคิดว่าเราเปลี่ยนใจแล้ว
ช่างภาพมือดีๆ ต้องจองคิวกันข้ามปีจริงๆ ค่ะ ก็แต่ก็ไม่ใช่ว่าถ้าไม่จองข้ามปีจะหมดสิทธิซะทีเดียว
อย่างไรแล้วก็ต้องเวลาเหลือให้เราบ้างแหละน๊า
ถ้าเจอช่างภาพที่ถูกใจแล้ว อย่ามัวแต่ลังเลค่ะ เพราะว่าไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะอดหมด
ลองเชคกับช่างภาพดูนะคะว่า วิธีจองคิวเป็นแบบไหน
บางคนก็ ใครมาคุยก่อน คนนั้นก็ถือว่ามาก่อน
บางคนใช้วิธีว่า ใครโอนมัดจำก่อน ถือว่าคนนั้นมาก่อนนะคะ อย่าพลาดเชียว
บางคนก็ ใครพูดจาถูกคอกว่า ก็คนนั้น
ไม่มีหลักเกณฑ์อะไรแน่ชัด ค่ะ ที่แน่ๆ อย่าจองคิวแบบลอยๆ ค่ะ
นัดวันเวลาที่ชัดเจน ตั้งแต่เวลาที่เริ่มถ่าย และถ่ายเสร็จ รวมทั้งจำนวนแขกผู้มีเกีรยติคร่าวๆ
และควรวางแผนการถ่ายภาพกับช่างภาพด้วยค่ะ
เช่น จะถ่ายอะไรบ้าง ถ่ายซีนไหนบ้าง ไปที่ไหนบ้าง
ช่วงเวลาไหนถ่ายกับเพื่อนที่คณะ อาจารย์ หรือญาติผู้ใหญ่
เพราะว่า แขกท่านเหล่านี้จะ กินเวลาในการถ่ายภาพนานมากค่ะ ต้องคำนวณเวลาดีๆ
อัตราการให้บริการถ่ายภาพ
ส่วนราคาครึ่งวัน หรือวันนอกรอบก็แล้วแต่ช่างภาพแต่ละคนจะแบ่ง Rate ค่ะ
เต็มวัน หมายถึง ถ่ายได้ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนแสงหมดค่ะ (Sun Working Hours)
ครึ่งวัน หมายถึง การข้อยืมคิว ช่วงที่คนที่รับเต็มวันเข้าหอประชุมอะค่ะ
หรือไม่ก็ แบ่งกันคนละครึ่ง แล้วแต่ตกลงเวลากันช่างภาพค่ะ
นอกรอบ หมายถึง การนัดถ่ายรูปที่ไม่ใช่วันซ้อมและวันจริงค่ะ
จะมีค่าบริการหรือไม่ขึ้นอยู่กับตกลงเช่นกันค่ะ
อัตราการให้บริการถ่ายภาพ ไม่มีอะไรตายตัวค่ะ
อยู่ที่การตกลงและความพึงพอใจร่วมกันของช่างภาพและนางแบบค่ะ
และข้อสังเกตอีกอย่างค่ะ ช่างภาพที่มีชื่อเสียงหรือป๊อบมากๆ จะมีคิวเยอะ
ดังนั้นกำหนดวันรับภาพของเราจะช้ามาก ต้องทำใจค่ะ (มากว่า 1 เดือนขึ้นไป)
ถ้าช่างภาพใจดี อาจจะได้ภาพตัวอย่างให้ชื่นใจเล็กๆ มาซักนิดนึงก่อนค่ะ
บริการเสริม (Optional Services)
ช่างภาพบางคนใจดีค่ะ มีบริการเสริมให้เราเลือกด้วย
เช่น มีคนช่วยถือแฟล็ชและรีเฟล็กซ์ (Reflex) มีช่างภาพผู้ช่วยถ่ายอีกมุม
มีการตกแต่งภาพให้ทุกภาพ ทำกรอบภาพ ทำลายน้ำ (Water Print) อัด DVD พร้อมทำปก
และคำแนะนำเพิ่มเติม เกี่ยวกับ DVD
สิ่งหนึ่งที่น้องๆ มักมองข้าม คือ คุณภาพของแผ่น DVD ที่ช่างภาพใส่ให้น้องๆไป
แผ่น DVD มีหลายเกรด ทำให้อายุการเก็บรักษายาวนานขึ้น
อยากให้สอบถามด้วยว่า ช่างภาพ ใช้แผ่น DVD แบบไหน ของดีหรือเปล่า
แผ่นถูกๆ 8-10 บาท แผ่นดีๆ 30-เป็นร้อยบาท ถ้าเทียบกับเงินที่น้องๆ เสียไป มันน้อยมากนะคะ
ควร เน้นย้ำให้ช่างภาพ ใช้แผ่นดีๆ ยี่ห้อดีๆ ให้เรา เพื่อการเก็บรักษาภาพแห่งความทรงจำไปนานๆ ค่ะ (ข้อมูลแนะนำจากคุณ : Benznoi ซึ่งบอกว่า ใช้ มิซูบิชิ ทั้งแผ่น สกีน และแผ่น backup)
และฝากบอกสำหรับช่างภาพค่ะ การไรท์แผ่น DVD ควรจะใช้ความเร็วในการบันทึกต่ำๆ หน่อยนะคะ
อย่างน้อยก็ให้ต่ำว่าความเร็วสูงสุดที่จะไรท์ได้ซักครึ่งนึงค่ะ
คำแนะนำนี้จาก ช่างภาพแจน (Jan007′s atelier)โดยให้เหตุผลว่า การที่เราใช้ความเร็วต่ำ โอกาสผิดพลาดของไฟล์จะน้อยกว่า และการจัดเก็บข้อมูลในแผ่นจะจัดเรียงได้สมบูรณ์กว่า รวมทั้งยังสามารถนำไปเปิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ ได้ ค่ะ
ส่วนเรื่องการ Backup
เมื่อได้แผ่น DVD มาแล้วให้ Backup ไว้หลายๆ ที่ค่ะ เช่น Hard disk, DVD, PC
เพื่อป้องกันการสูญหายหรือเสียหายของข้อมูล (คำแนะนำจากคุณ: +One Side Love+)
อีกทางเลือกนึง อัพโหลดขึ้นไปเก็บไว้บนเว็บเซฟเวอร์ หรือเว็บฝากรูปก็ได้ค่ะ อุ่นใจ
อย่างพวก Flickr หรือ slide.com รูปไม่ถูกบีบอัดมาก ยังคงความชัดได้อยู่ค่ะ
คำแนะนำสำหรับช่างภาพ มืออาชีพ ควรจะ Backupไฟล์ไว้ให้ลูกค้าด้วยนะคะ เพราะว่า บางทีลูกค้าทำภาพหาย จะได้มาถามหาจากช่างาภพได้
อย่าง ช่างภาพแจน (Jan007′s atelier) บอกไว้ว่า ปุ้ยถ้้าไฟล์หายมาถามหาที่แจนได้ แจนเก็บไว้ให้ลูกค้าทุกคนตลอดชีวิตของฮาร์ดดิสและของแจน ^ ^
ขอจบการการแนะนำการถ่ายภาพ เพียงเท่านี้ จนกว่าจะคิด รายละเอียดเพิ่มเติมได้ค่ะ
ถ้าพี่ๆ ช่างภาพท่านไหน มีคำแนะนำเพิ่มเติม ก็บอกมาเลยนะคะ จะได้เอามาอัพเดทให้น้องๆ ค่ะ
Photo-shot by: Jan007′s atelier
ขอบคุณค่ะ
สวยจังค่ะ
http://jan007atelier.multiply.com/ ค่ะ
พี่ปุ้ยให้ใครเป็นช่างภาพหรอคะ รบกวนด้วยนะคะ
รูปสวยจังค่ะ
จะรับปริญญาปลายปีนี้แล้ว แนะนำช่างภาพให้ด้วยนะคะ
yuinaka_@hotmail.com ขอบคุณค่า ^^
ค่าาา ตอบให้ทางเมลนะคะ
จ้างไปแต่งได้มั้ยค่ะเนี่ย
ตามมาจากจีบันค่า เห็นว่ารูปคุณปุ้ยสวยทุกรูปเลย
อยากให้คุณปุ้ยช่วยแนะนำช่างภาพให้หน่อยค่า (สำหรับงาน Wedding อ่ะคะ) ขอบคุณค่า
ตอบทาง E-mail ก็ได้นะคะ weeranan@adc.co.th
ครบถ้วนได้ใจความดีนะครับ ^^ เป็นบทความที่ดีสำหรับน้องๆบัณฑิตครับ
ถ้ามีอะไรเพิ่มเติม บอกได้เลยนะคะ
โอ๊ะ โอว คุณพี่ขาาาา
หนูปลื้มงานพี่มาก แต่ไม่มีปัญญาจ้างพี่
ขอบคุณที่แวะเข้ามาอ่านะคะ
ถ้ามีอะไรเพิ่มเติม บอกได้นะคะ เดี๋ยวอัพเดทให้ค่ะ
น้องณิชเลี้ยงพี่ซิ เดี๋ยวออกเลย
ป่าวเลยค่ะ อยากเป็น ^ ^
แจกแจงซะแจ่มเชียว
ออกๆๆๆ ออกจากงาน ปะ
ดีมากมายครับ
ครบถ้วนดีครับคุณน้อง
เอาไปลงหนังสือไ้ด้เลยนะเนี่ย เอิกๆ บรรณาธิการเก่าป่าวคับ
เขียนได้ยาวดีจริง ๆ