Review: Giffarine Gluta Curcuma C-E
เชื่อมั้ยว่า ผิวขาวอมชมพู ทำให้เราดูสวยขึ้นได้อีกถึง 2 – 3 เท่า เวลาเดินไปไหน หรือแม้แต่ถ่ายรูป เราก็จะดูสวยสะดุดตากว่าใครๆ นั่นเป็นเหตุผลที่ทำไมผู้หญิงหลายๆ คนจึงพยายามทำทุกวิถีทางให้ตัวเองขาวขึ้น แล้วคุณหละ จะทนอยู่กับผิวคล้ำดำเสีย ไม่กระจ่างใส หรือผิวซีดเหมือนคนอมโรค ดูไม่มีออร่า ไม่มีสง่าราศี อย่าคิดว่าแม่ให้มาเท่านี้ อย่าคิดว่าจะมีผู้ชายมาหลงรักเราจริงๆ ที่ตัวตนดำคล้ำของเรา เลิกฝันลมๆ แล้งๆ เป็นเจ้าหญิงในเทพนิยาย แล้วลืมตา ตื่นขึ้นมาดูโลกที่สดใสกับผิวขาวอมชมพูของเรากันเถอะ จะว่าไปปุ้ยก็เป็นหนึ่งในผู้หญิง ที่ค้นหาสารพัดวิธีเพื่อจะมาทำให้ผิวของปุ้ยขาวอมชมพู เพราะรู้สึกว่าเวลาที่เห็นใครผิวขาวๆ ดูเปล่งประกายมีออร่า แล้วมันอยากจะสวยเด่นขาวใสแบบเค้าบ้างจังเลย หลายคนอาจจะคิดว่าปุ้ยขาวอยู่แล้ว หรือขาวมาตั้งแต่เกิด ดูรูปนี้แล้วอาจจะเข้าใจมากขึ้น คือ ขาวอยู่แล้วแต่ว่าขาวเหลือง แต่ถ้าขาวใสอมชมพู มันก็ทำให้เราดูดีขึ้นได้อีกเยอะม๊ากกกก วันนี้ปุ้ยขอเล่าให้ฟังถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโทนสีผิวของคนเรา กันก่อนค่ะ สีผิวของเรานั้น จะถูกกำหนดด้วยสัดส่วนของเม็ดสีผิวหรือเมลานิน (Melanin) 2 ชนิด ได้แก่ ยูเมลานิน (Eumelanin) เป็นเม็ดสีผิวชนิดดำ/น้ำตาล และ ฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) เป็นเม็ดสีผิวชนิดขาว/ชมพู โดยคนเอเชียส่วนใหญ่จะมีปริมาณยูเมลานินมากกว่า จึงมีผิวที่คล้ำกว่าและชมพูน้อยกว่าคนในแถบทวีปยุโรปหรืออเมริกานั่นเอง ส่วนปุ้ยคิดว่าสัดส่วนเมลานินทั้ง 2 ชนิดอาจจะใกล้เคียงกันมาก จึงดูเป็นคนผิวขาว แต่ก็อาจจะมี ยูเมลานินมากว่านิดหน่อย จึงเป็นผิวขาวโทนเหลืองค่ะ แต่ถ้าไปตากแดดนานๆ ยูเมลานินก็จะถูกกระตุ้นให้ผลิตมากขึ้น สีผิวของปุ้ยก็จะคล้ำง่ายมากๆ แล้วก็กลับมาขาวช้าด้วย สารพัดวิธีที่ทำให้ผิวขาว ตั้งแต่การขัดผิว การทาครีมไวท์เทนนิ่ง นั้นก็ช่วยเร่งกระบวนการผลัดเซลล์ผิวให้เร็วขึ้น ผิวใหม่ที่ขาวกว่า ก็จะมาทดแทนผิวเดิมที่คล้ำเสียจากแสงแดด แต่ว่ามันจะได้ผลก็ต่อเมื่อ เราต้องเป็นคนขาวอยู่แล้วมาตั้งแต่เกิด คือ ถ้าคิดว่าอยากขาวด้วยการทาครีมหรือขัดผิว มันก็จะขาวได้มากที่สุดเท่าตอนที่เราเกิด แต่ก็เป็นไปไม่ได้ร้อยเปอร์เซนต์ เพราะว่า ยิ่งเราอายุมากขึ้น การผลิตเม็ดสีถูกกระตุ้นมากขึ้น ในขณะที่กระบวนการผลิตเซลล์ผิวนั้นทำงานได้น้อยลงและช้าลง เป็นสาเหตุที่ทำไมคุณพ่อคุณแม่ คุณลุงคุณป้าของเราพอแก่ตัวกลายเป็นคนผิวคล้ำ และแน่นอนที่สุดว่ายีนส์และดีเอ็นเอของเรานั้น เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และเป็นเหตุผลที่หลายคนนิ่งนอนใจว่า ความขาวนั้นเป็นเรื่องไกลตัว และในกระแสเรื่องผิวขาวมาแรงมากใน 2 -3 ปีที่ผ่านมา หลายๆ คนเริ่มมีความหวังอีกครั้งว่า เราสามารถมีผิวขาวได้ แม้ว่าดีเอ็นเอของเราจะเป็นคนผิวคล้ำก็ตาม ซึ่งสารที่สามารถทำให้ผิวของเราขาวใสอมชมพู ผิวเปล่งประกายออร่านั้น ก็คือ กลูต้าไธโอน (Glutathione) ผู้โด่งดังและเป็นที่กล่าวขวัญ
ก่อนที่จะเล่าให้ฟังว่า กลูต้าไธโอนทำให้ผิวของเราขาวได้อย่างไร ปุ้ยขออธิบายให้ฟังก่อนว่า กลูต้าไธโอน คือ ไตรเปปไทด์ (Tripeptide) ที่ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 3 ชนิด ได้แก่ ซีสเตอิน กลูตาเมต และไกลซีน ซึ่งร่างกายสามารถผลิตขึ้นได้เองตามธรรมชาติ โดยเฉพาะที่ตับของเรา กลูต้าไธโอนมีบทบาทสำคัญในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยปกป้องเซลล์มิให้ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ ซึ่งในร่างกายของเรา ตามธรรมชาติแล้วจะมีกลูต้าไธโอน 2 รูปแบบ คือ รีดิวซ์กลูต้าไธโอน (Reduced Glutathione) และ ออกซิไดซ์กลูต้าไธโอน (Oxidized Glutathione) แล้ว ทั้ง 2 แบบนี้ ต่างกันอย่างไร อธิบายง่ายๆ คือ รีดิวซ์กลูต้าไธโอนนั้นในน้ำที่อุณหภูมิห้องของบ้านเรา 40 องศาเซลเซียส ก็จะค่อยๆ สลายตัวจดหมดใน 30 วัน และถ้านำไปไว้ในอุณหภูมิน้ำเดือด ก็จะสลายไปภายใน ไม่ถึงชม. ส่วน ออกซิไดซ์กลูต้าไธโอนนั้นจะสามารถคงตัวได้ในอุณหภูมิห้องและแม้กระทั้งในน้ำเดือด ออกซิไดซ์กลูต้าไธโอนนั้นก็ยังคงเสถียรได้อยู่ค่ะ หลายคนที่กำลังสนใจบริโภคกลูต้าไธโอน ควรพิจารณาให้ดีถึงประเด็นนี้นะคะ ควรดูให้ละเอียดว่าเป็นกลูต้าไธโอนชนิดใด ซึ่งในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในท้องตลาดมากมาย และมีจำนวนไม่น้อยที่มีส่วนผสมของรีดิวซ์ กลูต้าไธโอน (Reduced Glutathione) ซึ่งกลูต้าไธโอนชนิดนี้ไม่คงตัวในน้ำและอุณหภูมิที่สูงขึ้น นั่นคือจะเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเคมี และเกิดกลิ่นแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide) หรือที่รู้จักกันในนามของ “แก๊สไข่เน่า” ซึ่งทำให้เครื่องดื่มมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ และกลิ่นนี้จะติดทนนานเป็นชั่วโมงหลังจากการดื่ม ถ้าใครเคยบริโภคแล้วเป็นแบบนี้ นั่นเป็นสัญญาณว่ากลูต้าไธโอนที่บริโภคเข้าไปอาจจะได้ผลน้อยหรืออาจจะไม่ได้ผลเลยนะคะ แล้วทำไมเค้าไม่ใช้กลูต้าไธโอนชนิดออกซิไดซ์กัน ก็เพราะว่ามีราคาที่สูงกว่า อันเนื่องมาจากกระบวนการผลิตที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่า นั่นเองค่ะ ทีนี้มาดูกันว่า กลูต้าไธโอนช่วยให้ผิวของเราขาวอมชมพูขึ้นได้จริงอย่างไร มีงานวิจัยรองรับชัดเจนว่า กลูต้าไธโอนมีกลไกยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์เม็ดสีผิวยูเมลานิน (Eumelanin) หรือเม็ดสีผิวสีดำ/น้ำตาล ดังนั้นกลูต้าไธโอนจึงมีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิวชนิดดำ/น้ำตาลด้วย
จากภาพกลไกการยับยั้งเม็ดสีผิวของกลูต้าไธโอน จะเห็นได้ว่า เมื่อกลูต้าไธโอนยับยั้งแนวทางการผลิตยูเมลานิน (Eumelanin) กลไกการสร้างเม็ดสีผิวก็จะผลิตแค่ฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) ซึ่งเป็นเม็ดสีขาว/ชมพู เมื่อสัดส่วนของฟีโอเมลานินมากขึ้น ผิวก็จะแลดูกระจ่างใส อมชมพู แลดูสุขภาพดีขึ้น |
หลังจากที่เข้าใจกันแล้วว่า กลูต้าไธโอนนั้นช่วยให้ผิวขาวขึ้นได้อย่างไรเราก็จะมาพูดถึงผลิตภัณฑ ์กิฟฟารีน กลูต้า เคอร์คิวม่า ซี-อี (Giffarine Gluta Curcuma C-E) ที่เกริ่นเอาไว้ตั้งแต่ต้นว่า ดื่มแล้วขาวอมชมพู
ซึ่งทางกิฟฟารีนได้ท้าให้ปุ้ยทดลองประสิทธิภาพของกิฟฟารีน กลูต้า เคอร์คิวม่า ซี-อี ใน 14 วันค่ะ ก่อนจะเล่าถึงผลลัพธ์ เรามาดูส่วนผสมหลักกันค่ะ ในขวดสีเหลืองฉลากชมพูนี้ ประกอบด้วย
|
ปุ้ยก็เริ่มทำการเก็บข้อมูลทดลองบริโภคกิฟฟารีน กลูต้า เคอร์คิวม่า ซี-อี โดยถ่ายรูปตั้งแต่วันแรกเอาไว้ เค้าบอกว่าบริโภค 14 วัน ก็จะเห็นผล เรามาดูผลลัพธ์กันค่ะ ดูจากในรูปนะคะ ทางซ้ายมือ คือ วันแรก ทางขวา คือ วันที่ 14
บอกตามตรงว่า ปุ้ยก็แทบจะไม่เชื่อสายตาตัวเอง คือ ได้ผลเกินคาดเลย ปกติปุ้ยก็เป็นคนขาวอมเหลือง แต่ช่วงก่อนทดลองบริโภค ปุ้ยไปออกแดด เพราะไปถ่ายรูปกลางแดดมา ผิวก็หมองๆ ลงนิดนึง หลังจากที่ลองบริโภคทุกวันไม่มีขาดถึงวัน 14 ผิวสว่างขึ้น ใช้คำว่า “สว่าง” เพราะมันมากกว่าคำว่า “ขาว” ก็คือ ผิวกระจ่างใส แล้วก็เหมือนเปล่งแสงได้ ดูผ่องใส สุขภาพดีมากขึ้น ยิ่งเวลาโดยแสงยิ่งผ่องเลยค่ะ ส่วนโทนสีผิวก็เหลืองน้อยลง ออกไปโทนชมพูมากขึ้น อย่างที่เห็นในรูป สรุปผลการทดลองบริโภคกิฟฟารีน กลูต้า เคอร์คิวม่า ซี-อี เปรียบเทียบ วันที่ 1 และวันที่ 14 |
วันที่ 1 —————————————————- BEFORE
สีผิว (Skin Color): ขาวเหลือง สีผิวไม่สม่ำเสมอ ถ้ามองผิวเผินจะเห็นเป็นผิวขาว สภาพผิว (Skin Texture): แห้งกร้านต้องทาโลชั่นตลอด |
AFTER —————————————————- วันที่ 14สีผิว (Skin Color): สีผิวเปลี่ยนเป็นขาวอมชมพู นวลเนียนขึ้น
สีผิวสม่ำเสมอขึ้น แล้วก็ดูเปล่งปลั่ง กระจ่างใส ดูมีออร่า ยิ่งเฉพาะเมื่อโดนแสงทั้งแดดกลางวันและแสงไฟกลางคืนค่ะ สภาพผิว (Skin Texture): ผิวนุ่ม และชุ่มชื้นขึ้นมาก |
ปุ้ยได้ลองกับตัวเองแล้วก็รู้สึกประทับใจนะคะ อย่างที่ในโฆษณาเค้าบอกเลย “ลองแล้วจะรัก” คิดว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้ผลดีสำหรับใครที่กำลังมองหาตัวช่วยให้ผิวขาวใส อมชมพู ที่สำคัญผิวเปล่งปลั่ง กระจ่างใสและก็มีสุขภาพที่ดีขึ้นค่ะ ยิ่งเฉพาะคนที่ผิวคล้ำ สีผิวไม่สม่ำเสมอ หรือแห้งกร้าน ถ้าได้ลอง จะเห็นผลแตกต่างชัดเจนมากกว่าปุ้ยอีกค่ะ โดยเฉพาะใครที่ไม่เคยบริโภคกลูต้าไธโอนมาก่อนเลย นี่จะเห็นผลดีมากๆ จากที่ปุ้ยสังเกตเพื่อนๆ มาค่ะ ฝากข้อควรระวังสำหรับสาวๆ ที่สนใจเริ่มต้น หรือบริโภคกลูต้าไธโอนเป็นประจำอยู่แล้ว นะคะ ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือจากแหล่งผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือได้ เนื่องจากกลูต้าไธโอนเป็นกระแสที่กำลังฮิตติดตลาด การบริโภคกลูต้าไธโอนเป็นประโยชน์และผลดีต่อร่างกาย แต่ถ้าบริโภคกลูต้าไธโอนที่ไม่มีคุณภาพหรือไม่ใช่กลูต้าไธโอนที่แท้หรือบริสุทธ์ อาจจะไม่ได้ผลหรืออาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้นะคะ เวลาพิจารณาเลือกซื้อต้องระวังให้ดีๆ เลย หละค่ะ
วิธีการสังเกต ดังนี้ค่ะ 1) ชื่อบริษัทผู้ผลิตต้องจดทะเบียนชัดเจน ยิ่งเป็นบริษัทใหญ่และมีชื่อเสียงยิ่งดีที่สุด และถ้ามีการอ้างว่านำเข้ามาจากต่างประเทศ ก็ต้องระบุได้ว่าจากประเทศไหน และนำเข้าจากบริษัทแม่ บริษัทไหน และสามารถตรวจสอบข้อมูลบริษัทได้
สุดท้ายอยากจะทิ้งท้ายไว้ว่า อาหารผิว…ไม่ใช่แค่กลูต้าไธโอน อยากผิวสวยแบบเบ็ดเสร็จ…แล้วหละก็ นอกจากการรับประทานกลูต้าไธโอนที่ช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิวและให้ผิวสวยกระจ่างใสขึ้นแล้ว ที่สำคัญเลย ก็คือ อย่าลืมการดื่มน้ำมากๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ วันนี้ต้องลาไปก่อนแล้ว พบกันใหม่ในบล็อกหน้าค่าาาา บั้ยบาย |
References:
- Natthavuth A., Pravit A. Glutathione as an oral whitening agent. Journal of Dermatology Treatment.2010; Early online, 1-6
- Glutathione Depletion Increases Tyrosinase Activity in Human Melanoma Cells, Journal of investigative Dermatology (1993) 101, 871-874
- Villarama CD, Maibach HI. Glutathione as a Depigmenting agent: an overview. Int J Cosmet Sci.2005 Jun; 27(3): 147-53
- Ortonne JO, Bissett DL. Latest insights into skin hyperpigmentation. J Invest Dermatol. 2008;13:10-14
- Vitamin C, University of Maryland Medical Center, http://www.umm.edu/altmed/articles/vitamin-c-000339.htm. 10/05/2012
- Vitamin E, University of Maryland Medical Center, http://www.umm.edu/ency/article/002406.htm. 10/05/2012
- Banerjee A, Nigam SS. Antimicrobial efficacy of the essential oil of Curcuma longa. Indian J Med Res 1978; 68: 864-6.
- Curcuminoids. องค์การเภสัชกรรม, http://202.129.59.198/curmin/index.asp. 15/05/2012
- http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp?page2=subdetail&id_L1=27&id_L2=31218&id_L3=2999