My passion, All beautiful things and any nice concern share the world beauty by puy ~ is me

Baby Macaron ProCollagen ตัวโปรดที่สุดของปุ้ย สุดยอดอาหารผิวสวย หน้าเด็ก กระจ่างใส เปล่งปลั่งอมชมพู

IMG_6549_R

สวัสดีค่ะ
ช่วงปีที่ผ่านมานี้ กระแสอาหารเสริมผิวสวยมาแรงมากๆ วันนี้ปุ้ยขอแชร์ อาหารเสริมตัวโปรดที่สุดของปุ้ย ที่กินมาตลอด 2 ปี ซึ่งสิ่งนี้ช่วยให้เราดูแลความสวยจากภายใน ส่งผลให้เราดูสวย แลดูสุขภาพดีอย่างแท้จริง ค่ะ

คำถามที่ปุ้ยถูกถามบ่อยมากๆ จากหลายต่อหลายคน ก็คือ ปุ้ยทำอะไร ถึงผิวสวย หน้าเนียน และดูอ่อนวัยกว่าคนในวัยเดียวกัน (เผื่อหลายคนที่ยังไม่ทราบ ปี 2557 นี้ ปุ้ยอายุครบ 32 พอดีค่ะ)
แต่จะเชื่อมั้ยว่า นี่คือคำตอบของปุ้ย ที่ใช้มาโดยตลอด ปุ้ยไม่ได้ทำอะไรนอกเหนือไป จาก

〮ดูแลผิวด้วยการล้างหน้าให้สะอาดมากๆ และบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ
〮บริโภคแต่อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะผักและผลไม้ 

〮ดื่มน้ำเยอะๆ ไม่ต่ำกว่าวันละ 2 ลิตร
〮ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
〮พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างต่ำวันละ 6-8 ชม.
แต่ตอนนี้ต้องเพิ่มไปอีกข้อหนึ่ง ก็คือ ปุ้ยกินอาหารเสริมไม่ขาดทุกวัน

หลายคนที่ติดตามอ่านบล็อกของปุ้ยมา จะทราบว่าปุ้ยเคยแนะนำอาหารเสริมซุปเปอร์แอนติออกซิแดนท์ บล็อกเก่าเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
–> เผยเคล็ดลับ ผิวสวย เนียนใส ไร้ริ้วรอย จากอาหารที่เรารับประทานค่ะ
ซึ่ง อาหารเสริมที่ปุ้ยจะแชร์ในวันนี้ก็เป็นตัวเดียวกัน ภายใต้ผู้ผลิตเดียวกัน แต่ปรับรูปโฉมให้น่ารัก น่าเอ็นดู และเพิ่มความเข้มข้นของส่วนผสมให้เป็นระดับพรีเมี่ยมเกรดค่ะ

มีชื่อว่า Baby Macaron Procollagen” คือส่วนผสมของสารสกัดไฟโตนิวเทรียนท์หรือสารพฤกษเคมีได้จากผักและผลไม้ ซึ่งเต็มไปด้วยคุณประโยชน์ต่างๆ

ข้อมูล จากทางแบรนด์ เค้าเครมว่า Procollagen เป็นนวัตกรรมความงามใหม่ล่าสุด ที่จะเผยให้เห็นถึงผิวสวย เรียบเนียน สว่างกระจ่างใส เปล่งปลั่งอมชมพู ไร้สิวและริ้วรอย
เห็นผลจริง 100 % โดยการนำสารตั้งต้นของการสร้างคอลลาเจน มาช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสามารถสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนังได้เองตามธรรมชาติ
ที่สำคัญ Procollagen มีประสิทธิภาพที่เหนือกว่าอาหารเสริมคอลลาเจนทั่วไปและมีความปลอดภัยสูง
นอกจาก นี้ยังมีผลการศึกษาทางคลินิกและงานวิจัยต่างๆ ซึ่งเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พอเพียงในการยืนยันถึงประสิทธิผลของสาร สกัดที่ได้รวบรวมไว้ใน Procollagen 
รับประทานเพียง วันละ 1 เม็ด ก่อนนอน คุณจะเห็นผลลัพธ์ชัดเจนอย่างที่ไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน

ใน 1 แคปซูล ประกอบด้วย

  • ISOFLOVONE สารสกัดจากถั่วเหลือง 250 มก. เทียบเท่ากับการรับประทานน้ำเต้าหู้ถึง 13 แก้ว  
  • LYCOPENE สารสกัดจากมะเขือเทศ 100 มก. เทียบเท่ากับมะเขือเทศสดถึง 24 ลูก
  • OPC สารสกัดจากเมล็ดองุ่น 100 มก. เป็นสุดยอดสารต้านอนุมูลอิสระ

จาก การศึกษาเทียบปริมาณกับผลิตภัณฑ์ที่วางขายอยู่ในตลาดบ้านเรา ทั้งตามร้านขายยาและบนอินเตอร์เน็ตแล้ว ปุ้ยยังไม่พบว่าจะมีแบรนด์ใดที่รวมเอาซุปเปอร์แอนติออกซิแดนท์ท็อปฮิต มารวมตัวกันมากถึง 3 ตัว ซึ่งโดยมากแล้วก็จะมีตัวชูโรงอยู่ตัวหนึ่ง (ซึ่งก็ไม่มากไปว่า 50 มก.) แล้วบวกพวกวิตามินและแอนติออกซิแดนท์ตัวเล็กๆ ตามลงไปด้วยเท่านั้น และก็ยังไม่พบว่ามีผลิตภัณฑ์ตัวอื่นใดที่จดทะเบียนอย. แล้ว และให้ปริมาณมิลลิกรัมมากมายเท่านี้ ซึ่งเป็นปริมาณที่มีหลักฐานงานวิจัยรับรองว่า เป็นปริมาณที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ต่อวัน ค่ะ

Snapshot-Procollagen

แล้วคำถามต่อมาก็คือ
Procollagen มันดียังไง??

ด้านผิวพรรณ
〮กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนังได้อย่างสมบูรณ์ 100%
〮ผิวพรรณกระชับ เต่งตึง ทั่วเรือนร่าง รวมไปถึงลดปัญหาเซลลูไลท์
〮สีผิวสว่างกระจ่างใส เปล่งปลั่งอมชมพู แสดงออกถึงผิวสุขภาพดี
〮ยับยั้งการเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ ผิวเรียบเนียนกระจ่างใสทั่วเรือนร่าง
〮ชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ให้ใบหน้าดูเด็กขึ้น
ด้านสุขภาพ
〮ปรับสมดุลฮอร์โมน สามารถปรับได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง (ไม่มีผลกระทบกับฮอร์โมนใดๆและไม่เป็นอันตรายทั้งสิ้น)
〮รักษาอาการวัยทองหรือ MENOPAUSE
〮ช่วยเสริมสร้างกระดูกของร่างกาย
〮ช่วยให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้นถึง 98% (มีผลงานวิจัยรองรับ)
〮ลดผลข้างเคียงจากการทานฮอร์โมน หรือ ยาคุม ที่ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่างๆ
〮ลดอัตราเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก(ในเพศชาย) ด้วยสารสกัดจากมะเขือเทศถึง 24 ลูก ใน 1 เม็ด
〮ลดปริมาณ total cholesterol, LDL-C และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคของหลอดเลือดหัวใจ

เหมาะกับใครบ้าง??
จริงๆ แล้วอาหารเสริมแอนติออกซิแดนท์เหมาะสำหรับทุกคน เพราะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่เน้นให้เห็นผลลัพธ์เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพและผิวสำหรับคนต่อไปนี้ค่ะ

  • เป็นสิวจากฮอร์โมน ไม่หายซักที
  • มีรอยแผลจากการเป็นสิวอักเสบ
  • มีฝ้า กระ และจุดด่างดำ เต็มไปหมด
  • อยากผิวขาวใส อมชมพู
  • มีริ้วรอยขึ้นจางๆ และไม่อยากจะมีมากไปกว่านี้
  • อยากดูหน้าเด็กกว่าวัยซัก 3 – 5 ปี
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เพราะฮออร์โมนไม่สมดุล
  • มีอาการวัยทอง และไม่อยากเสี่ยงต้องการเป็นมะเร็งเพราะฮอร์โมน ทดแทน
  • มีปัญหาผมร่วง ผมบนศรีษะบางลงเรื่อยๆ
  • ต้องการดูแลสุขภาพและป้องกันโรงมะเร็ง หัวใจและหลอดเลือด

IMG_6585_Rทำไมชื่อมีคำว่าคอลลาเจน แต่ส่วนผสมไม่เห็นมี?
เพราะว่าส่วนผสมทั้งซุปเปอร์แอนติออกซิแดนท์ทั้ง 3 ตัว ช่วยให้ร่างกายเราเสริมสร้างคอนลาเจนได้เอง นั่นเท่ากับว่าเรากินคอนลาเจนที่ไม่น่าว่าจะได้นำไปใช้งานได้จริงกับผิวจริง กี่เปอร์เซนต์ สรุปคือ ถ้าร่างกายเราสร้างคอนลาเจนได้เอง มันก็ย่อมดีกว่าเห็นๆ

นานเท่าไหร่ถึงจะเห็นผล?
สำหรับเรื่องผิว ก็จะประมาณ 4 สัปดาห์ค่ะ
เพราะว่า ไลฟ์ไซเคิลของผิวเราจะเฉลี่ยอยู่ที่ 4 สัปดาห์
ก็จะเริ่มค่อยๆ เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง ผิวก็จะสว่างขึ้น สุขภาพดีขึ้น
ปุ้ยสังเกตเห็นผลชัดเจนตอนเริ่มเข้าเดือนที่ 4

ส่วน การปรับสมดุลฮอร์โมน อย่างเรื่องสิว ปัญหาผมร่วง และอาการวัยทอง ปุ้ยแนะนำว่าบริโภคต่อเนื่องอย่างต่ำ 3 เดือนขึ้นไป ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะเริ่มเข้าสู่สมดุล
ซึ่งหลังจากนั้นเราก็อาจจะเมนเทน ต่อไปเรื่อยๆ

อัน ที่จริงแล้ว อาหารเสริมแอนติออกซิแดนท์ ไม่ใช่ยารักษาโรค เป็นเพียงตัวที่จะส่งเสริมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายและปรับสมดุลเรื่องสุขภาพของเราให้ดีขึ้น และจะค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ หากบริโภคต่อเนื่องในระยะยาว ก็เหมือนอาหารที่เราต้องกินเข้าไปทุกวันนั่นแหละ

ปุ้ย อยากให้กินไปเรื่อยๆ ก็ถ้ามันกินแล้วดี กินแล้วสวย ทำไมเราถึงจะหยุดกินมันหละคะ จริงมั้ย เพราะทุกวันนี้ปุ้ยก็ยังกินอยู่ทุกวันค่ะ

หาซื้อได้จากที่ไหน บ้าง?

ตัวแทน จำหน่ายทั่วประเทศค่ะ ลอง Google คำว่า Baby Macaron “Procollagen” เจอหลายแหล่งก็เอาตามที่เราสะดวก แต่ถ้าไม่ชัวร์ กลัวของปลอมก็ ไปที่นี่ค่ะ http://www.ladymacaron.co.th

นี่แหละค่ะ ไอเท็มความสวยความงาม~อาหารเสริมตัวเก่งของปุ้ย หวังว่าจะช่วยตอบคำถามในใจของหลายๆ คนได้นะคะ
และอย่าลืมดูแลสุขภาพความงามของเราอย่างสม่ำเสมอ ห้ามเว้นเลยแม้แต่วันเดียวนะคะ ขอให้สวยๆ กันทุกคนค่าาาา

สุดท้าย ปุ้ยจะจบบล็อกด้วยการเล่าให้ฟังว่า สารซุปเปอร์แอนติออกซิแดนท์ แต่ละตัวคืออะไร และมีประสิทธิภาพดีต่อสุขภาพและความสวยความงามของเรายังไง บ้าง

photophotophoto

 

สารสกัดจากถั่วเหลือง (Soy Extract)
ซึ่งได้รับการขนานนามว่า เป็นสุดยอดอาหารเสริมสำหรับสตรี
เพราะ สารสกัดจากถั่วเหลือง จะมีสารชื่อ “ISOFLAVONES” ซึ่งเป็นสาร ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน เรียกว่าไฟโตเอสโตรเจน (PHYTOESTROGEN) แต่ฮอร์โมนที่มีฤทธิ์ต่ำมาก ไม่มีผลข้างเคียงอื่นๆ เหมือน เช่น ยาคุมกำเนิด หรือฮอร์โมนทดแทน จากการทดลองพบว่ามีฤทธิ์ต่ำกว่าฮอร์โมน ESTRADIOL ในยาคุมกำเนิดถึง 1,000 เท่า

การออกฤทธิ์ของ PHYTOESTROGEN จับเข้ากับ Recepter ของเซลล์เช่นเดียวกับ Estrogen ของร่างกาย ดังนั้นจึงเหมาะกับสตรีที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนทั้งมากและน้อยได้ดีทั้งสองแบบ คือ มีฤทธิ์เป็น Estrogen และ Anti-Estrogen สามารถปรับสภาพฮอร์โมนสตรีให้มีความสมดุลได้

Screen Shot 2557-02-22 at 1.39.02 AM

ผล การศึกษาทางคลินิกเป็นจำนวนมาก พบว่าการรับประทานไอโซฟลาโวน 40 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน สามารถลดริ้วรอยแห่งวัยได้ โดยไอโซฟลาโวนจะเพิ่มการสังเคราะห์คอลลาเจนและอีลาสตินใต้ผิวหนัง  ยิ่งถ้าหากมีการรับประทานไอโซฟลาโวนส์ 100 มก.ต่อวัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน จะเพิ่มการสร้างคอลลาเจน, เส้นใยอีลาสติน, จำนวนของเส้นเลือดในชั้นหนังแท้ เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ผิวหน้าดูเต่งตึง มีน้ำมีนวลและมีเส้นเลือดฝาด (ตารางที่ 1 และรูปภาพที่ 2) 
ใน การศึกษาของ Kotsopoulos และคณะ พบว่าการให้รับประทานไอโซฟลาโวนเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3 เดือน ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นบนใบหน้า ทำให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวล เรียบเนียนใส นอกจากนี้ยังพบว่าสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง ช่วยกระตุ้นการแสดงออกของยีนส์ที่ทำให้ดูอ่อนเยาว์ และช่วยยับยั้งการแสดงออกของยีนส์ที่ทำให้ดูแก่ได้อย่างชัดเจน
ดังนั้นผลดีของการได้รับสาร ISOFLAVONES 
ก็คือ

  • ช่วยชะลอวัย คืนความอ่อนเยาว์ เพราะ ISOFLAVONES เป็น
    สารต้านอนุมูลอิสระชั้นเลิศ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น Super Antioxidant
  • ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนของเพศหญิง ดังนั้นจึงช่วยลดผลข้างเคียง ต่างๆ
    ที่เกิดจากภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล ตั้งแต่ ปัญหาสิวในวัยรุ่นที่เกิดจากฮอร์โมน (Hyperandrogenism) ปัญหาผมร่วงบางที่เกิดจากฮอร์โมน (Androgenetic Hair Loss) ปัญหาการลดระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนในสตรีวัยทอง (Menopause)
  • ช่วยฟื้นฟูความหย้อยคล้อยของผิว กระชับสรีระและเต้านม ด้วย
    เพราะว่า มีฮอร์โมนของเพศหญิงนั่นเอง
  • ช่วยเพิ่มการสังเคราะห์คอลลาเจน และอีลาสติน ทำให้ริ้วรอยลด ลง
    ผิวเต่งตึง และเรียบเนียนข้ึน (ผลการศึกษาทางคลินิกหลายงานวิจัย)
  • ลด ผมร่วง ซึ่งมันจะไปต้านการทำงานของฮอร์โมนดีเอชที (Dihydrotestosterone-DHT) ซึ่งฮอร์โมนดีเอชทีนี้เองที่เป็นตัวการทำให้ผมบางลง และหลุดร่วงมากกว่าปกติ เป็นสาเหตุให้ศีรษะล้าน
  • ช่วยลดอาการหลังหมดประจำเดือน เสริมสร้างความยืดหยุ่นของผิวหนังและรักษาความชุ่มชื้นด้วย
  • ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกได้ (เมื่อรับประทาน ไอโซฟลาโวน 90 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน)
  • ช่วยลดปริมาณ total cholesterol, LDL-C และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ที่เป็นสาเหตุของปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ช่วยยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันของแอลดีแอลคอเลสเตอรอล ป้องกันการแข็งตัวของเลือดตามผนังหลอดเลือดซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ

 คำถามต่อมาก็คือ เราควรจะบริโภคถั่วเหลืองวันละเท่าไรจึงจะได้สาร ISOFLAVONES พอเหมาะและในวันหนึ่งๆ เราควรได้รับ ISOFLAVONES เท่าไรจึงจะได้ผลลัพธ์ ตามที่กล่าวมาข้างต้น
มีการศึกษาพบว่า ปริมาณสาร ISOFLAVONES ที่เพียงพอ คือให้บริโภควันละ 50-150 มิลลิกรัม ขึ้นกับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล บางคนขาดฮอร์โมนมาก บางขาดฮอร์โมนน้อย ความต้องการของร่างกายจึงแตกต่างกันไป
และที่แน่ๆ ก็คือ ไม่ปรากฏอาการ เป็นพิษ
ถ้าบริโภค ISOFLAVONES ในปริมาณมากเท่าใดก็ตาม

ต่อมาก็คือ สารสกัดจากมะเขือเทศ (Tomato Extract)
สาร สำคัญที่พบได้ในผลมะเขือเทศ คือ ไลโคปีน (LYCOPENE) เป็นสารสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย เป็น carotenoid พบมากในมะเขือเทศและผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ ตรงกันข้ามกับ เบตาแคโรทีน ไม่ถูกทำลายระหว่างการแปรรูปอาหารเหมือนเบตาแคโรทีน ทั้งยังดูดซึมได้ดี  มีฤทธิ์ที่ดีกว่าแบต้าแคโรทีน และแอลฟาโทโคฟีรอล ถึง 2 และ 10 เท่า  ตามลำดับ

ไลโคปีน เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ตามเทรนฮอตฮิตของกระแสผิวขาวใส อมชมพู ซึ่งทำให้ผิวของผู้รับประทานมีสีแดงอมส้ม แบบเดียวกับสีของมะเขือเทศทำให้ผิวพรรณสดใส เปล่งปลั่ง ผิวมีสุขภาพดี ไม่ไวต่อแสง
ผลลัพธ์ที่ดีสำหรับความสวยความงามของ ไลโคปีน ก็คือ

  • ช่วยให้ผิวแข็งแรง ทนต่อการทำลายของแสงแดดได้มากขึ้น 3 เท่า
    จึงลดความรุนแรงของการเผาไหม้ของผิวหนังจากแสง สามารถต่อต้านมะเร็งผิวหนัง และชะลอความเสื่อมของเซลล์ผิว
  • ลดอัตตราการเกิดสิว เพราะ ไลโคปีนยังมีผลลดการทำงานของฮอร์โมน IGF-1
    ซึ่งกระตุ้นการเกิดสิว
  • ช่วยให้ผิวดูสวยอมชมพูมีเลือดฝาด เพราะ รงควัตถุสีแดงในไลโค ปีน
    ทำให้ผิวของผู้รับประทานมีสีแดงอมส้ม แบบเดียวกับสีของมะเขือเทศ
  • บำรุง ผิวพรรณให้สดใส เปล่งปลั่ง ผิวมีสุขภาพดี ไม่ไวต่อแสง เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่รับประทานอาหารเสริมให้ผิวขาว เพราะปกติเมื่อทานอาหารเสริมให้ผิวขาว ผิวก็จะไวต่อแสงมาก ผิวไหม้ และคล้ำแดดเร็วมาก
  • ช่วยให้มีการกระตุ้นสร้างคอลลาเจน เพราะ ไลโคปีนยับยั้งเอนไซม์คอลลาจีเนส (Collagenases) ที่จะเข้าไปทำลายชั้นคอลลาเจน

ร่างกายของคนเราควรได้รับปริมาณ ไลโคปีน อย่างน้อย 6.5 มิลลิกรัมต่อวัน
ซึ่งเทียบได้กับการทานมะเขือเทศเป็นส่วนประกอบใน อาหาร 10 ครั้ง/สัปดาห์

ความสำคัญของไลโคปีน อีกประการหนึ่ง คือ
มี ฤทธิ์ที่ดีมากในการช่วยยั้บยั้งการเกิดออกซิเดชั่นของไขมัน ชนิด Low density lipoprotein (LDL) จึงสามารถป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว (Atherosclerosis) ลดอัตราเสี่ยง ของการเป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด นอกจากนั้นแล้ว ไลโคปีนเป็นสารประกอบที่ได้รับความสนใจ เนื่องจาก มีรายงานว่ามีประโยชน์ต่อ สุขภาพ โดยเฉพาะการลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ ที่ชัดเจนที่สุด คือ มะเร็งต่อมลูกหมาก ในผู้ชายได้ ถึง 21-35% รองลงมา คือ มะเร็งปอด กระเพาะอาหาร

นอกจากนี้ก็ยังแสดงให้เห็นประโยชน์ของการได้รับไลโคปีนในการลด ความเสี่ยงของ มะเร็งตับอ่อน ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก คอหอย ช่องปาก
เต้านม ปาก เป็นต้น (อ่าน เพิ่มเติม)

นางเอกคนสุดท้ายของเรา ก็คือ สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape-Seed Extract)

สาร สกัดจากเมล็ดองุ่น เป็นสารสกัดที่อุดมไปด้วยพฤกษเคมีจากธรรมชาติที่เรียกว่า โอลิโกเมอริกโปรแอนโทไซยานิดีน หรือโอพีซี (Oligomeric Proanthocyanidins หรือ OPC) มีประสิทธิภาพต้านอนุมูลอิสระแรงที่สุด จนกระทั่งได้รับการขนามนามว่าเป็น Super Antioxidant สามารถจับกับอนุมูลอิสระได้ดี ต้านอนุมูลอิสระได้ทุกรูปแบบ และจำนวนมาก แล้วยังมีฤทธิ์แรงกว่าวิตามินซี 20เท่าและแรงกว่าวิตามินอี 50 เท่า

การรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นเป็นประจำจะทำให้ ได้ผลลัพธ์ที่ คือ 


  • คืน ความแข็งแรง และความยืดหยุ่นให้กับผิวพรรณ เพราะ OPC ลดการทำงานของเอนไซม์ทีคอลลาจิเนส ที่เป็นสาเหตุทำให้เนื้อเยื่อคอลลาเจนถูกทำลายและทำให้ผิวพรรณแก่ก่อนวัย โดย OPC คงสภาพของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective Tissue)
  • ผิว นุ่ม ชุ่มชื้น ไม่แห้งตึง เพราะ OPC สามารถช่วยปกป้องผิวจากการสูญเสียน้ำหล่อเลี้ยง ทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื้นขึ้น สัมผัสความแตกกต่างได้ภายใน 24 ชม.
  • ลดเลือนจุดด่างดำ รอยหมองคล้ำ ป้องกันฝ้า เพราะ OPC จะสามารถช่วยลดความเข้มของสีผิวบริเวณที่ดำคล้ำลง

  • ผิว ดูกระจ่างใส หรือเรียบเนียนและสีผิวสม่ำเสมอ เพราะ OPC จะยับยั้งการทำงานของเม็ดสีเมลานินที่เป็นสาเหตุสาคัญทำให้ผิวหมองคล้ำทั่ว เรือนร่าง
  • ลด อาการเส้นเลือดขอด เพราะ OPC ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และเพิ่มความแข็งแรงให้กับหลอดเลือดจึงช่วยป้องกันโรคหัวใจ บรรเทาอาการมือและเท้าชา รักษาเส้นเลือดขอด

  • ลด อาการภูมิแพ้ เพราะ OPC มีคุณสมบัติในการต้านสารฮีสตามีน จึงช่วยลดอาการภูมิแพ้ หอบหืด เส้นเลือดฝอยแข็งแรง ไม่แตกเปราะ เนื้อเยื่อแข็งแรง ปกป้อง Mast cell ไม่ให้ถูกโจมตี เมื่อไม่ถูกรบกวนก็ไม่หลั่ง Histamine มาก จึงไม่เกิดอาการภูมิแพ้
  • ลด อักเสบ (Anti-Inflammation) ต้านการอักเสบ เพราะ OPC จะยับยั้งการสังเคราะห์ และการปล่อยสารที่จะทำให้เกิดการอักเสบ ทำให้เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของข้อต่างๆ ทำงานได้ดี จึงทุเลาอาการปวดอักเสบต่างๆ เช่น ปวดกล้ามเนื้อและเส้นใย (Fibromyalgia) ปวดข้อ (arthritis) และโรคผิวหนังพุพอง (Eczema) เป็นต้น
  • ลด อาการผมร่วง เพราะ OPC ช่วยหยุดการทำงานของฮอร์โมนลักษณะเพศชาย (Dihydrotestosterone – DHT) ซึ่งถ้า DHT มากไปจะไปยับยั้งการเกิดต่อมรูขมขนของเส้นผม จึงทำให้ขนหรือผมร่วง

นอกจาก นี้ มีการศึกษาในประเทศญี่ปุ่น ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical interventions in aging ทำการศึกษาในผู้หญิงจำนวน 100 คนที่มี skin photo-aging (ผิวที่เกิดการเสื่อมสภาพจากการที่โดนแสงยูวีทำร้าย) ให้ทาน pine bark extract (OPC) ปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่ามีการลดลงของระดับ skin photo-aging และยังสามารถลดรอยด่างดำลงได้ถึง 71 %ของผู้เข้าร่วม นอกจากนั้นการศึกษาของประเทศเยอรมัน ในผู้เข้าร่วมการทดลอง จำนวน 42 คน โดยให้ทาครีมที่มีส่วนผสมของ Oligomeric Proanthocyanidins (OPC) ปริมาณ 100 มิลลิกรัม พบว่า มีการเพิ่มของไฮยาลูโรนิ ทำให้ระดับความชุ่มชื้นที่ผิวหนังเพิ่มขึ้น 20% หลังจากที่ใช้ไป 2 สัปดาห์และเมื่อผ่านไป4 สัปดาห์ สามารถลดรอยแดงการอักเสบของผิวหนังที่เกิดจากรังสียูวี (erythema formation) ถึง 45.9%
นอกจากนี้จากการศึกษาของ Takahashi และคณะ พบว่า OPC กระตุ้นการเกิดของเส้นผม จากคุณสมบัติที่ OPC ช่วยหยุดการทำงานของฮอร์โมนลักษณะเพศชาย (Dihy drotestosterone – DHT) ซึ่งถ้า DHT มากไปจะไปยับยั้งการเกิดตุ่มเส้นผม จึงทำให้ขนหรือผมร่วง  ในคนที่บริโภค  OPC จากอาหารจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งชนิดลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ได้ และยังพบว่าเมื่อมีการทำงานร่วมกันของ OPC และ flavonoids สามารถลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งตับอ่อน และมะเร็งกระเพาะอาหาร ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันมะเร็ง ลดโคเลสเตอรอล และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายอีกด้วย (อ่าน เพิ่มเติม)

IMG_6247_R


เอกสารอ้างอิง
Kanda N, Watanabe S. Regulatory roles of sex hormones in cutaneous biology and immunology. J Dermatol Sci. 2005;38(1):1-7.
2.    Shah MG, Maibach HI. Estrogen and skin. An overview. Am J Clin Dermatol. 2001;2(3):143-50.
3.    Izumi T, Saito M, Obata A, Arii M, Yamaguchi H, Matsuyama A. Oral intake of soy isoflavone aglycone improves the aged skin of adult women. J Nutr Sci Vitaminol (Tokyo). 2007 Feb;53(1):57-62.
4.    Accorsi-Neto A, Haidar M, Simoes R, Simoes M, Soares-Jr J, Baracat E. Effects of isoflavones on the skin of postmenopausal women: a pilot study. Clinics (Sao Paulo). 2009;64(6):505-10.
Kotsopoulos D, Dalais FS, Liang YL, McGrath BP, Teede HJ. The effects of soy protein containing phytoestrogens on menopausal symptoms in postmenopausal women Climacteric. 2000;3(3):161-7.
6.     Chabbert-Buffet N, Bonnin P, Levy B, Abdoucheli-Baudot N, Tribout L, Gaitz JP, et al. Cutaneous microvascular effects of mid-term hormone replacement therapy in healthy postmenopausal women: a prospective placebo controlled trial. J Mal Vasc. 2003;28(4):190-3.
7.    Lund TD, Munson DJ, Haldy ME, Setchell KD, Lephart ED, Handa RJ. Equol is a novel anti-androgen that inhibits prostate growth and hormone feedback. Biol Reprod. 2004 Apr;70(4):1188-95.
8.    Bae M, Woo M, Kusuma IW, Arung ET, Yang CH, Kim YU. Inhibitory effects of isoflavonoids on rat prostate testosterone 5alpha-reductase. J Acupunct Meridian Stud. 2012 Dec;5(6):319-22.
9.    Raine-Fenning NJ, Brincat MP, Muscat-Baron Y. Skin aging and menopause : implications for treatment Am J Clin Dermatol. 2003;4(6):371-8.
10.    Kurzer MS. Soy consumption for reduction of menopausal symptoms. Inflammopharmacology.     2008 Oct;16(5):227-9.
11.    Ma DF, Qin LQ, Wang PY, Katoh R. Soy isoflavone intake increases bone mineral density in the spine of menopausal women: meta-analysis of randomized controlled trials. Clin Nutr. 2008 Feb;27(1):57-64.
12.    Huang HY, Yang HP, Yang HT, Yang TC, Shieh MJ, Huang SY. One-year soy isoflavone supplementation prevents early postmenopausal bone loss but without a dose-dependent effect. J Nutr Biochem. 2006 Aug;17(8):509-17.
13.    Kim J , Lee H , Lee O, Lee K , Lee Y, Young K, et al. Isoflavone supplementation influenced levels of triglyceride and luteunizing hormone in Korean postmenopausal women Arch Pharm Res. 2013;36:306-13.
14.    Setchell K, McLachlan J.A. Estrogens in the Environment II 1985.
15.     Sae-Koo P. EFFECT OF PROCESSING AND DEVELOPMENT OF APPROPRIATE TECHNIQUES ON ISOFLAVONESCONTENT DURING TOFU PREPARATION. Bangkok (Thailand): Mahidol University; 2005.
16.     Scott KJ, Hart DJ. Development and evaluation of an HPLC method for the analysis of
carotenoids in foods and the measurement of carotenoid content of vegetables and fruits
commonly consumed in the UK Food Chem 1995;54:101- 11.
17.    Tonucci LH, Holden JM, Beecher GR, Khachik F, Davis CS, Mulokozi G. Carotenoid contents of thermally processed tomato-based food products. J Agric Food Chem. 1995;43579-86.
18.    Bramley PM. Is lycopene beneficial to human health? Phytochemistry. 2000 Jun;54(3):233-6.
19.    Stahl W, Heinrich U, Aust O, Tronnier H, Sies H. Lycopene-rich products and dietary photoprotection. Photochem Photobiol Sci. 2006 Feb;5(2):238-42.
20.    Dangoisse C. Dermo-cosmetics and prevention of skin aging. Rev Med Brux. 2004; 25 A365-A70.
21.    Lenz H, Schmidt M , Welge V, Schlattner U, Wallimann T, Elsasser HP, et al. The creatine kinase system in human skin: protective effects of creatine against oxidative and UV damage in vitro and in vivo. J Invest Dermatol. 2005;124:443-52.
22.    Darvin M, Patzelt A, Gehse S, Schanzer S, Benderoth C, Sterry W, et al. Cutaneous concentration of lycopene correlates significantly with the roughness of the skin. Eur J Pharm Biopharm. 2008 Aug;69(3):943-7.
23.    Giovannucci E, Ascherio A, Rimm EB, Stampfer MJ, Colditz GA, Willett WC. Intake of carotenoids and retinol in relation to risk of prostate cancer J Natl Cancer Inst. 1995; 87:1767-76.
24.     Mackinnon E. The Role of the Carotenoid Lycopene as an Antioxidant to Decrease Osteoporosis Risk in Women: Clinical and in vitro Studies. Institute of Medical Science University of Toronto. 2010:37-40.
25.     Fuhrman B, Elis A, Aviram M. Hypocholesterolemic effect of lycopene and beta-carotene is related to suppression of cholesterol synthesis and augmentation of LDL receptor activity in macrophages. Biochem Biophys Res Commun 1997;233:658-62.
26.    Misra R, Mangi S, Joshi S, Mittal S, Gupta SK, Pandey RM. LycoRed as an alternative to hormone replacement therapy in lowering serum lipids and oxidative stress markers: a randomized controlled clinical trial. J Obstet Gynaecol Res. 2006; 32:299-304.
27.    คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. เลือกรับประทานผลิตภัณฑ์มะเขือเทศชนิดใดรูปแบบใดให้ได้ไลโคปีนสูง.  กรุงเทพมหานคร2556; Available from: http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=1.
28.    Bob Longmore. Anthogenol – The secret of OPCs is out there. Australian Pharmacist. 2007;26:787-92.
29.    Tixier JM, Godeau G, Robert AM, Hornebeck W. Evidence by in vivo and in vitro studies that binding of pycnogenols to elastin affects its rate of degradation by elastases. Biochem Pharnacol. 1984;33(24):3933-9.
30.    Sime S, Reeve VE. Protection from inflammation, immunosuppression and carcinogenesis induced by UV radiation in mice by topical Pycnogenol. Photochem Photobiol. 2004 Feb;79(2):193-8.
31.    Saliou C, Rimbach G, Moini H, McLaughlin L, Hosseini S, Lee J, et al. Solar ultraviolet-induced erythema in human skin and nuclear factor-kappa-B-dependent gene expression in keratinocytes are modulated by a French maritime pine bark extract. Free Radic Biol Med. 2001 Jan 15;30(2):154-60.
32.    Grimm T, Schafer A, Hogger P. Antioxidant activity and inhibition of matrix metalloproteinases by metabolites of maritime pine bark extract (pycnogenol). Free Radic Biol Med. 2004 Mar 15;36(6):811-22.
33.    Ni Z, Mu Y, Gulati O. Treatment of melasma with Pycnogenol® Phytother Res. 2002;16:567-71.
34.    Furumura M, Sato N, Kusaba N, Takagaki K, Nakayama J. Oral administration of French maritime pine bark extract (Flavangenol((R))) improves clinical symptoms in photoaged facial skin. Clin Interv Aging. 2012;7:275-86.
35.    Hughes-Formella B, Wunderlich O, Williams R. Anti-inflammatory and skin-hydrating properties of a dietary supplement and topical formulations containing oligomeric proanthocyanidins. Skin Pharmacol Physiol. 2007;20(1):43-9.
36.    Takahashi T, Kamimura A, Kagoura M, Toyoda M, Morohashi M. Investigation of the topical application of procyanidin oligomers from apples to identify their potential use as a hair-growing agent. J Cosmet Dermatol. 2005 Dec;4(4):245-9.
37.    Rossi M, Rosato V, Bosetti C, Lagiou P, Parpinel M, Bertuccio P, et al. Flavonoids, proanthocyanidins, and the risk of stomach cancer. Cancer Causes Control. 2010 Oct;21(10):1597-604.
38.    Rossi M, Lugo A, Lagiou P, Zucchetto A, Polesel J, Serraino D, et al. Proanthocyanidins and other flavonoids in relation to pancreatic cancer: a case-control study in Italy. Ann Oncol. 2012 Jun;23(6):1488-93.
39.    Alternative Medicine Review. Oligomeric Proanthocyanidins (OPCs). 2003;8(4 ):442-7.